THCOM 14 THB
+0.10 (+0.74%)

มิติเศรษฐกิจ

การดำเนินธุรกิจ
ด้วยความรับผิดชอบ

การเป็น “ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ” เป็นหัวใจของกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยคมในยุค แห่งเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้านการสื่อสาร  ในขณะ ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของผู้คน  การเข้าถึงข้อมูล  รวมถึง พฤติกรรมและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการ วางรากฐาน และเสริมสร้างโครงข่ายการสื่อสาร และ โทรคมนาคมที่มีคุณภาพ  และถือเป็น หน้าที่สำคัญที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมและผู้มีส่วนได้เสียของเรา  ด้วยการ บริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลและจริยธรรม  หลักการบริหารธุรกิจด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้  การดูแลสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน  โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและ ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน  การบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สังคมและชุมชนเติบโตไปพร้อมกับบริษัท

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

ไทยคมได้ระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจากการพิจารณาข้อมูล แนวโน้ม ทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและระดับสากล  แผนธุรกิจของบริษัท และรวบรวมจากกระบวนการ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งการพิจารณาผลกระทบของธุรกิจหลักของเรา เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะ ดำเนินธุรกิจ โดยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเกิดคุณค่าต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมไป พร้อมๆ กับการตอบ สนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสมโดยยังคงใช้หลักการคัดเลือกประเด็นสำคัญ(Materiality) ที่อ้างอิงกระบวนการตามแนวทางของ GRI ดังต่อไปนี้

ขั้นที่ 1 การระบุประเด็นสำคัญ (Identification)ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทรวบรวมข้อมูลสำคัญจากปัจจัยภายใน (เป้าหมายและแผนธุรกิจ) โดยรวบรวมจากการระดมสมองของ ผู้บริหารในการประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือ การประชุมเชิงกลยุทธ์ และความเสี่ยงขององค์กรที่ส่งผลต่อความ ยั่งยืนองค์กรและปัจจัยภายนอก (แนวโน้มด้านความยั่งยืน และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย) โดยรวบ รวมจากการทบทวนแนวโน้มและทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก (SDGs) การสำรวจความคิดเห็นการ ประชุม หารือ สัมมนา ตามความเหมาะสม

ขั้นที่ 2 การจัดลำดับความสำคัญ (Prioritization)

โดยการนำประเด็นจากขั้นที่ 1 มาเทียบเคียงกับความสอดคล้องในประเด็นและตัวชี้วัดตามแนวทาง GRI และทำการพิจารณาทดสอบสารัตถภาพเพื่อจัดลำดับความสำคัญ

ขั้นที่ 3 การให้เหตุผล (Validation)

บริษัทมีการทบทวนประเด็นที่มีสาระสำคัญขึ้นมาใหม่  เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์แนวทางการดำเนินธุรกิจ  และสอดคล้องกับความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย  พบว่าประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์  พิจารณา และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDCOM) นั้น มีบางประเด็นเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการและบางประเด็นยังไม่เป็นประเด็นสำคัญต่อสถานะการณ์ของบริษัทในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี มีบางประเด็นที่ต้องใช้เวลาในการตอบสนองอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง บริษัทจึงคัดเลือกประเด็นที่มีสาระสำคัญด้านความยั่งยืน  ดังต่อไปนี้

ประเด็นที่มีสาระสำคัญต่อไทยคมปี 2564

การบริหารความเสี่ยงสู่ความยั่งยืน

ท่ามกลางความผันผวนของสภาวการณ์ด้านต่างๆ ของโลก ที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และก่อ ให้เกิดปัจจัยความเสี่ยงที่ซับซ้อนและรุนแรง ไทยคมจึงตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงที่มี ประสิทธิภาพ  อันจะช่วยให้บริษัทมีโอกาสปรับตัวและเตรียมความพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ และ สามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้  บริษัทมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรตามมาตรฐานสากล COSO ERM และ  ISO 31000  โดยขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่รายงานตรงต่อคณะกรรม การตรวจสอบ โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะทำหน้าที่พิจารณาปัจจัยความเสี่ยง และกำหนดแนวทาง การบริหารความเสี่ยง  ซึ่งรวมถึงการกำหนดนโยบายติดตามดูแล  และสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ในฐานะเจ้า ของความเสี่ยงดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงในความรับผิดชอบของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยมีฝ่ายการบริหารความเสี่ยงและการประกันรายได้ (Risk Management and Revenue Assurance) ในระดับ ปฏิบัติการ  ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบประสานงานกับหน่วยงานเจ้าของความเสี่ยง ในการประเมินความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร เพื่อเสนอรายงานและ/หรือแนวทางการจัดการความเสี่ยงองค์กรต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาตามลำดับ

ไทยคมมีการประเมินความเสี่ยงควบคู่ไปกับการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Criteria) ตลอดจนระดับเบี่ยงเบนความเสี่ยง (Risk Tolerance) ที่เหมาะสมและชัดเจน  เพื่อกำหนดทิศทางเดียวกันในการกำหนดมาตรการลดระดับความเสี่ยงและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ดี บริษัทตระหนักดีว่าการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ย่อมส่งผลให้ความเสี่ยงบางประเภทเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่นกัน บริษัทจึงได้พัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถติดตามประเด็นความ เสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risks) ได้

กระบวนการบริหารความเสี่ยง: มี 4 ขั้นตอน คือ

  1. การระบุความเสี่ยง โดยการประเมินสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากบริบทขององค์กรและอาจมีผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์กร
  2. การวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยการใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันในแง่ของผลกระทบ
  3. การประเมินความเสี่ยง โดยกระบวนการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร เพื่อประเมินผลกระทบของความเสี่ยงและสามารถจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงได้
  4. การกำหนดมาตรการแก้ไขและลดระดับความเสี่ยง ทั้งนี้จะมีกระบวนการทบทวนและติดตามในทุกขั้นตอน พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูล เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร และ คณะกรรมการบริษัท ตามลำดับ
  • ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์  (Strategic Risks)
  • ความเสี่ยงในการดำเนินงาน  (Operational Risks)
  • ความเสี่ยงด้านการเงิน  (Financial Risks)
  • ความเสี่ยงในการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง  (Compliance Risks)
  • ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ (Economic Risks)
  • ความเสี่ยงด้านสังคม (Social Risks)
  • ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม  (Environmental Risks)
  • ความเสี่ยงใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น (Emerging Risks)

ไทยคมดำเนินการเพื่อสร้างให้เกิด Risk Culture ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การสร้างวัฒนธรรมด้านความเสี่ยงของบริษัทมีการดำเนินการในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการนำหลักการบริหารความเสี่ยงมาใช้ใน กระบวนการทำงานของฝ่ายต่างๆ โดยมีการกำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานขององค์กร  รวมถึงหน่วยงานเจ้าของความเสี่ยงที่ต้องมีการประเมินความเสี่ยง นอกจากนี้ บริษัทมีหน่วยงานตรวจ สอบภายในเป็นผู้ดำเนินการประเมินตรวจสอบการบริหารความเสี่ยงเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มีความพร้อมต่อสถานการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของโลก เช่น ด้านเทคโนโลยี  รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) โดยได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 22301:2019 และ ISO 9001:2015

บริษัทมีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงแก่ผู้บริหารและพนักงาน  เช่นการจัดหลักสูตร Risk Management E-Learning  เพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงภายในองค์กรได้อย่างครบถ้วน

> การประเมินความเสี่ยงกับคู่ค้า

ไทยคมได้มีการประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากคู่ค้า โดยแบ่งเป็นสองประเด็นความเสี่ยง คือ

  • ความเสี่ยงจากการพึ่งพาคู่ค้าน้อยราย

บริษัทได้มีการบริหารจัดการโดยวางแผนจัดเตรียมอุปกรณ์สำรองสำหรับอุปกรณ์ที่สำคัญ และมีคู่ค้าสำรอง ทำให้ความเสี่ยงจากการพึ่งคู่ค้าน้อยรายลดลงและอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

  • ความเสี่ยงจากการได้รับสินค้าหรือบริการไม่ได้คุณภาพ

บริษัทได้มีการบริหารจัดการโดยกระบวนการตรวจสอบสินค้าเมื่อรับสินค้า การตรวจรายงานผลการทดสอบสินค้าจากคู่ค้า การเลือกใช้สินค้าหรือบริการจากคู่ค้าที่มีการอ้างอิงที่ดี การประเมินคู่ค้า ทำให้ความเสี่ยงจากการได้รับสินค้าหรือบริการไม่ได้คุณภาพลดลงและอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

การกำกับดูแลกิจการ

ธุรกิจของไทยคมยึดมั่นตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีการกำหนดหลักการของการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและมีนโยบายต่างๆ ที่สอดคล้อง เพื่อเป็นเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจในทุกกิจกรรม และในทุกประเทศที่ไทยคมเข้าไปดำเนินธุรกิจ บริษัทให้ความสำคัญกับ ความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และตระหนักดีว่าความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้เสียเป็น สิ่งสำคัญในการแข่งขันและความสำเร็จ นั่นเป็นเหตุผลที่ไทยคมมุ่งมั่นที่จะต้องมีจรรยาบรรณในระดับสูงสุดในกิจกรรมทางธุรกิจทุกประเภท และต้องสอดคล้องกับหลักจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ พฤติกรรมทางธุรกิจที่มี “ความรับผิดชอบ” เป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและซื่อสัตย์เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้บริษัท

จรรยาบรรณธุรกิจ

หลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจของไทยคมเพื่อสร้างความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบและรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย มีส่วนร่วมและให้ความความเห็นในการดำเนินกิจการเพื่อเป็นกลไกและกระบวนการ ที่จะทำให้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง นำไปสู่การสร้างองค์กรแห่งธรรมาภิบาลที่มีมาตรฐาน ในการดำเนินธุรกิจและเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ในการปฏิบัติงานให้กับบริษัท ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะกรรมการผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทก็อาจจะได้พบหรือต้องเผชิญ กับคำถามหรือข้อสงสัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมหรือเรื่องกฎหมายอยู่เสมอว่าสิ่งที่บริษัทหรือที่เรากำลังดำเนินการอยู่นั้นเป็นเรื่องที่สมควรกระทำหรือไม่ และขัดกับจริยธรรมหรือขัดกับกฎหมายระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วไม่มีคำตอบชัดเจนหรือคำตอบที่ตายตัว หรือสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกสถานการณ์

จรรยาบรรณธุรกิจของไทยคมจึงเป็น “กรอบแนวทางในการปฏิบัติงาน” เพื่อใช้ตอบคำถามของแต่ละคนว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นถูกต้องและสมควรกระทำหรือไม่ เป็นหลักชี้นำการกระทำ ของพนักงานทั้งองค์กร และวิถีทางที่บริษัทดำเนินธุรกิจ โดยมีการสื่อสารทำความเข้าใจกับพนักงานรวมทั้งการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อเป็นกลไกไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้และสร้างความยั่งยืนในที่สุด

รับข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแส

ไทยคมยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ถูกต้องโปร่งใส เป็นไปตามจรรยาบรรณและการกำกับดูแลกิจการของบริษัทที่กำหนดไว้ บริษัทเชื่อว่าพนักงานจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรม และคาดหวังว่าพนักงานของบริษัทจะต้องประพฤติตนอย่างมืออาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติตามคู่มือจรรยาบรรณของบริษัทอย่างเคร่งครัด

บริษัทจึงไม่ยินยอมให้มีการกระทำผิดและทุจริตเกิดขึ้นในบริษัท และจะมีการลงโทษทางวินัยกับผู้กระทำผิด บริษัทจึงมีการกำหนดช่องทางรายงานและสนับสนุนให้พนักงานทุกคนให้ข้อมูลรายงานเบาะแสการ กระทำผิด หรือการทุจริตใดๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพนักงาน ผู้ขายสินค้าsหรือบริการ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ คู่ค้า ผู้ถือหุ้น กรรมการ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในบริษัท รวมทั้งให้ความคุ้มครองพนักงานที่ให้ข้อมูลความร่วมมือหรือความช่วยเหลือใดๆ กับบริษัท ในเรื่องบาะแสการกระทำผิดและการทุจริตดังกล่าวด้วย

การต่อต้านการทุจริต

ไทยคมต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ ด้วยตระหนักดีว่าการทุจริตเป็นภัยร้ายแรงที่ทำลายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม และก่อให้เกิดความเสียหายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นโยบายต่อต้านการทุจริตของไทยคมเป็นส่วนหนึ่งของคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจด้วย และเป็นแนวทางที่ทุกคนในองค์กรต้องปฏิบัติตาม โดยมีการจัดอบรมให้กับพนักงาน ควบคู่ไปกับเรื่องจรรยาบรรณธุรกิจ นอกจากนี้มีการประกาศให้ลูกค้า พันธมิตรธุรกิจ คู่ค้า หรือผู้ที่จะเข้ามาทำธุรกิจกับบริษัท ให้รับทราบถึงเจตนารมณ์และนโยบายการต่อต้านการทุจริตของไทยคม โดยคาดหวังให้ผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจของบริษัทได้ปฏิบัติตามด้วย

ไทยคมเข้าร่วมลงนามในคำประกาศเจตนารมย์ “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต” หรือ “Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption” (CAC) และได้รับการรับรองในฐานะสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต

ห่วงโซ่อุปทาน

คู่ค้าทางธุรกิจคือห่วงโซ่สำคัญของความสำเร็จ ในการนำเสนอสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ไทยคมจึงร่วมสร้างการเติบโตกับคู่ค้าธุรกิจในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี การฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การให้คำปรึกษา ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ที่เป็นประโยชน์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ที่จะผลักดัน ให้เกิดความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทในระยะยาว บริษัทประกาศนโยบายที่เป็นธรรมและรับผิดชอบต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้ รวมทั้งจัดทำ “แนวทางปฏิบัติของคู่ค้า” (Supplier Charter) เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทและคู่ค้า มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และยังช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจของคู่ค้ามีแนวทางที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน หากยังเป็นโอกาสให้บริษัทและคู่ค้า มีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน

ไทยคมไม่มีนโยบายในการชำระเงินล่าช้าแก่คู่ค้า ระยะเวลาเฉลี่ยของการชำระเงินให้แก่คู่ค้าที่เกิดขึ้นจริงระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2565 คือ 31 วัน ซึ่งเร็วกว่าระยะเวลาเฉลี่ยที่บริษัทกำหนดไว้คือ 45 วัน

เพื่อความเสมอภาคและเป็นธรรม ไทยคมมีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนจากคู่ค้าผ่านทางเว็บไซต์ และสามารถติดต่อได้โดยตรงที่ส่วนงานจัดซื้อจัดหา หรือหน่วยงานตรวจสอบภายใน เราพร้อมจะรับฟังความคิดเห็นและประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในการตอบกลับคู่ค้า