THCOM 14 THB
+0.10 (+0.74%)

บริษัทไทยคม

ความเป็นมาของบริษัท

ในปีพุทธศักราช 2534 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติดวงแรกว่า “ไทยคม” (“THAICOM”) มาจากคำว่า Thai Communications หรือ ไทยคมนาคม เพื่อเป็นสัญลักษณ์การเชื่อมโยงประเทศไทยกับเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่

ตลอดระยะเวลาร่วม 3 ทศวรรษ ด้วยประสบการณ์ ความมุ่งมั่น และความสำเร็จ ส่งผลให้ไทยคมก้าวขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจด้านดาวเทียมแห่งเอเชีย และยังคงอันดับ 1 ใน 10 ของผู้ประกอบการดาวเทียมที่ได้รับความเชื่อมั่นและการยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้ ไทยคมยังได้มีการคิดค้น พัฒนาผลิตภัณฑ์ และประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีผ่านดาวเทียมอย่างต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจตามเจตนารมณ์ในการนำดาวเทียมมาใช้ประโยชน์ เพื่อการต่อยอดและสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่ความอย่างยั่งยืนในอนาคต

2534
7 พฤศจิกายน
ก่อตั้ง บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด
บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรและให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม รวมถึงบริหารงานโครงการดาวเทียมไทยคม โดยได้รับสัมปทานธุรกิจดาวเทียมจากกระทรวงคมนาคม เป็นระยะเวลารวม 30 ปี (ปัจจุบัน อำนาจการดูแลสัญญาถูกโอนไปยังกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
LL
LL
2536
18 ธันวาคม
จัดส่งดาวเทียมไทยคม 1
ดาวเทียมไทยคมดวงแรกของไทย ได้ทะยานขึ้นสู่วงโคจร ณ ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ในเอเชีย
2537
18 มกราคม
เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ภายใต้ชื่อ “SATTEL”
8 ตุลาคม
จัดส่งดาวเทียมไทยคม 2
จุดเริ่มต้น “การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม”
ครั้งแรกกับนวัตกรรมระดับโลกแห่งวงการบรอดคาสต์
ไทยคม คือ ผู้ประกอบการดาวเทียมรายแรกในภูมิภาคที่ให้บริการส่งสัญญาณออกอากาศรายการโทรทัศน์ในย่านความถี่ KU-Band รวมถึง บริการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมถึงผู้รับตามบ้าน (Direct-to-Home) และยังเป็นผู้บุกเบิกนำเทคโนโลยีบีบอัดสัญญาณ MPEG-2/DVB มาใช้เป็นรายแรกของโลก) Service
LL
LL
2540
16 เมษายน
จัดส่งดาวเทียมไทยคม 3
ณ ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก ซึ่งเป็นตำแหน่งวงโคจรเดียวกับดาวเทียมไทยคม 1 และไทยคม 2 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้น การให้บริการ Hotspot Platform ในทวีปอินเดีย
2543
สิงหาคม
จุดกำเนิดสู่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม
บริษัท ประกาศโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งจะเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์ดวงแรกที่ได้รับการออกแบบให้รองรับการใช้งานด้านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
LL
LL
2547
ธันวาคม
ภารกิจเร่งด่วนเพื่อกอบกู้โครงข่ายการสื่อสารในเหตุการณ์สึนามิ ภาคใต้ของไทย
ไทยคม กอบกู้โครงข่ายการสื่อสารอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย
2548
11 สิงหาคม
จัดส่งดาวเทียมไทยคม 4
ดาวเทียมไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ ดาวเทียมบรอดแบนด์ ดวงแรกของโลก ที่ไทยคมได้ส่งขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
LL
LL
2549
27 พฤษภาคม
จัดส่งดาวเทียมไทยคม 5
ณ ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก โดยดาวเทียมไทยคม 5 ออกแบบมาเพื่อให้บริการด้านบรอดคาสต์และด้านสื่อต่างๆ มีช่องสัญญาณ KU-Band กำลังสูง เหมาะสำหรับผู้ให้บริการ DTH ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทั้งยังมีช่องสัญญาณ C-Band แบบ Global Beam ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป รองรับผู้ใช้บริการในเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา
2551
10 เมษายน
จาก “ชินแซท” สู่ “ไทยคม”
ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทจากเดิมเป็น “บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)” และใช้ชื่อหลักทรัพย์ว่า “THCOM”
28 พฤษภาคม
เร่งเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสาร กู้ภัยแผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน
ไทยคมเข้าร่วมในภารกิจกู้ภัยพิบัติเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน โดยนำไอพีสตาร์เข้าเร่งเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสาร
LL
LL
2554
11 มีนาคม
ภารกิจกู้ระบบเครือข่ายมือถือ หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น
ไอพีสตาร์ช่วยกู้ระบบเครือข่ายมือถือ หลังเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น
6 พฤษภาคม
ไอพีสตาร์เซ็นสัญญา ร่วมกับ NBN ออสเตรเลีย
ลงนามในสัญญากับบริษัท เอ็นบีเอ็น จำกัด (NBN Company Limited) หรือ NBN Co เพื่อให้บริการดาวเทียม (Interim Satellite Service) สำหรับโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติของประเทศออสเตรเลีย
2557
6 มกราคม
จัดส่งดาวเทียมไทยคม 6
ณ ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก รองรับการขยายศักยภาพทางธุรกิจ ในการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ด้วยคุณภาพสูงสุดในระบบทีวีดิจิทัล โดยให้บริการครอบคลุมเอเชียแปซิฟิค รวมถึงแอฟริกา
7 กันยายน
จัดส่งดาวเทียมไทยคม 7
สู่ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก เพื่อเพิ่มปริมาณช่องสัญญาณ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ไทย และการเติบโตของโทรคมนาคมในประเทศ
LL
LL
2559
28 พฤษภาคม
จัดส่งดาวเทียมไทยคม 8
สู่วงโคจรในตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก ด้วยจรวดขนส่งฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซพลอเรชั่น เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (Space Exploration Technologies Corporation- SPACE X) ณ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์และเสริมศักยภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
2561
26 กุมภาพันธ์
เปิดตัว “Nava™” บริการสื่อสารอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทางทะเล
ไทยคม เดินหน้าบริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม เปิดตัว “นาวา (Nava™)” บริการบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สำหรับใช้สื่อสารระหว่างเรือที่ออกไปปฏิบัติการกับชายฝั่ง พร้อมยกระดับการสื่อสารในอุตสาหกรรมการเดินเรือเต็มรูปแบบ
LL