ไทยคมตระหนักดีว่าการบรรลุและรักษาเป้าหมายตามวิสัยทัศน์และพันธกิจได้สำเร็จอย่างยั่งยืนนั้น บริษัทต้องมุ่งมั่นใส่ใจการดำเนินธุรกิจที่ตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสีย และลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บริษัทจึงได้กำหนดวิถีสู่ความยั่งยืนที่ยังคงสร้างมูลค่าและความเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไม่ลืมที่จะสร้างคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ครอบคลุมและตอบสนองต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท โดยมีนโยบายการพัฒนาความยั่งยืนเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนขององค์กร เป็นกรอบในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเพื่อสร้างการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง รวมทั้งการได้รับการยอมรับและไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งปีที่ผ่านมาบริษัทมีการปรับปรุงนโยบายฉบับนี้ เพื่อให้สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสียได้ดียิ่งขึ้น โดยจำแนกประเด็นที่เกี่ยวข้องในแต่ละมิติให้เห็นอย่างชัดเจน กล่าวคือ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และ มิติสิ่งแวดล้อม โดยยังคงยึดหลักของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และอ้างอิงแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนตามตัวชี้วัดของ GRI รวมทั้งการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ Sustainability Development Goals ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท
บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ซึ่งมีเป้าหมายที่คำนึงถึงความยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย การสร้างคุณค่าร่วมและลดผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ และยังรวมถึงการดำเนินงานภายใต้กรอบการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร ที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals –SDGs) โดยบริษัทมีกลยุทธ์ที่จะสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว ดังต่อไปนี้
สืบเนื่องจากนโยบายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท ที่ใช้แนวทางการดำเนินงานการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักธรรมภิบาลที่ดีและยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดี การอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างมีความสุข รวมถึงการดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริษัทจึงได้กำหนดทิศทางกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน และดำเนินงานภายใต้กรอบการพัฒนาความยั่งยืน 3 ด้าน โดยขับเคลื่อนธุรกิจด้วยธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) และวิสัยทัศน์ขององค์กร
ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
บริษัทถือว่าผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มมีความสำคัญไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม การจำแนกประเภทของผู้มีส่วนได้เสียอยู่บนพื้นฐานของผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม เพื่อให้มั่นใจว่าการกระทำและการตอบสนองของบริษัทต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเป็นไปอย่างยุติธรรม และ เหมาะสม และสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของบริษัทอย่างเหมาะสม จึงได้กำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีการระบุไว้ในจรรยาบรรณ ธุรกิจรวมถึงคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคู่มือของบริษัทเกี่ยวกับจริยธรรม
การวิเคราะห์และลำดับความสำคัญและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ
บริษัทมุ่งมั่นในการดูแลกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตามสิทธิที่ได้รับตามกฎหมายกำหนด บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม รวมถึงสนับสนุนให้มีการร่วมมือกับบริษัทคู่ค้า เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจได้อย่างครอบคลุมตามจรรยาบรรณและแนวปฏิบัติของจรรยบรรณธุรกิจของบริษัท โดยตั้งแต่ปี 2566 บริษัทได้นำแนวทางการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียตามหลักการรายงานความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาใช้ในการวิเคราะห์และลำดับความสำคัญและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทใช้หลักพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับบริษัททั้งทางบวกและทางลบ และการทำแผนผังความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Mapping) โดยพิจารณาใน 2 ด้านคือ อิทธิพลของผู้มีส่วนได้เสียต่อบริษัท และความสนใจของบริษัทต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งผลการจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 8 กลุ่ม เรียงตามลำดับความสำคัญได้แก่
1. ลูกค้า 2. ผู้ถือหุ้น 3. พนักงาน 4. พันธมิตรทางธุรกิจ 5. หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแล 6. เจ้าหนี้ 7. คู่ค้า (ส่งมอบสินค้า) และ 8. กลุ่มสังคมและชุมชน
การระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน:
การระบุประเด็นที่มีสาระสำคัญ: บริษัทพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจทั้งภายในและภายนอกตลอดปี 2566 โดยคำนึงถึงความเสี่ยงของบริษัทและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนแนวโน้มความยั่งยืน ตัวชี้วัดภาคส่วน คู่แข่ง และทิศทางในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและโทรคมนาคม
กระบวนการประเมินประเด็นที่เป็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร :
- ระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน จากเป้าหมาย แผนธุรกิจ และห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจขององค์กร โดยพิจารณาร่วมกับ ทิศทางการพัฒนาด้านความอย่างยั่งยืนระดับโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) และตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนในระดับประเทศและระดับสากลที่มีความเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและโทรคมนาคม ได้แก่ Global Reporting Initiatives: GRI, Sustainability Accounting Standards Board: SASB และเอกสารแนะนำตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ESG Metrics เป็นต้น เพื่อให้มีความครอบคลุมทั้งมิติด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ มิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพิจารณาร่วมกับแนวทางการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
- พัฒนาการจัดลำดับสำคัญด้านความยั่งยืน โดยพิจารณาจากผลกระทบเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบของประเด็นที่มีความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียและต่อบริษัท
- จัดลำดับความสำคัญของผลกระทบจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Prioritize the Most Significant of the Impacts) โดยเลือกระดับผลกระทบสูงสุดเพื่อเป็นตัวแทนของระดับผลกระทบของประเด็นสำคัญแต่ละประเด็น ทำการประเมินและจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ
รายงานผลและรับรองผลการประเมิน (Reporting and Assessment endorsement) ผลการประเมินและจัดลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจะถูกรายงานแก่คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท (SDCOM) เพื่อทบทวนและพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อผลการประเมินความเสี่ยงและโอกาสของบริษัท ในประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายด้านความยั่งยืนระดับองค์กร
ประเด็นสำคัญทางธุรกิจ
ในการนี้ทางคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ทบทวนและนำเสนอประเด็นสำคัญทางธุรกิจเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาและอนุมัติ และได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ 2/2566 ให้ดำเนินการตามประเด็นสำคัญทางธุรกิจและเป้าหมายสากลสำหรับการพัฒนายั่งยืนสำหรับปี พ.ศ. 2566 – 2567 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ซึ่งในปี 2566 มีบริบททางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อทัศนคติ และพฤติกรรมการของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการดำเนินงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและสิทธิมนุษยชน ทั้งหมด 14 ประเด็นดังนี้
บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) วางแผนในการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ครอบคลุมขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง และขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม โดยตั้งเป้าหมายเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กรลง 30% ภายในปีพ.ศ. 2573 จากปีฐาน พ.ศ. 2566 ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 2,703 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ขอบเขต 1+2) และตั้งเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปีพ.ศ. 2593 คลิกเพื่อดูใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรปี 2566
เอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
56-1 report
(ขนาดไฟล์ 24 MB)