ไทยคม เปิดตัว ‘สถานีดาวเทียม LEO ไทยคม-โกลบอลสตาร์’ ซึ่งเป็นสถานีภาคพื้นดินเพื่อให้บริการระบบดาวเทียม Low Earth Orbit (LEO) Satellite Constellation แห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ สถานีบริการภาคพื้นดินไทยคม อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยร่วมกับ บริษัท โกลบอลสตาร์ (Globalstar, Inc.) ผู้ให้บริการระดับโลกด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียมและโซลูชัน IoT จากประเทศสหรัฐอเมริกา
2566
ไทยคม นำแพลตฟอร์มคาร์บอนเครดิตที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ประเมินปริมาณมวลชีวภาพในพื้นที่ป่าชุมชน ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ พร้อมต่อยอดไปใช้สร้างประโยชน์ในการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคป่าไม้ของประเทศไทย
ไทยคม รับรางวัล SET Awards 2023 – Commended Sustainability Awards ในกลุ่มรางวัล Sustainability Excellence จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งนับเป็นรางวัลเกียรติยศที่มอบให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่มีการพัฒนาองค์กรตามแนวทางแห่งความยั่งยืน
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เป็นประธานในพิธีลงนามระหว่าง ไทยคม และ แอร์บัส ในโอกาสที่ ไทยคมประกาศเลือกแอร์บัส เป็นผู้จัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงแบบ Software Defined High Throughput Satellite หรือ SD-HTS
ไทยคม ผู้ให้บริการดาวเทียมไทย รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2566
ไทยคม ร่วมกับ จิสด้า จัดงาน ‘Thailand Space Week 2023’ เชื่อมไทยสู่อุตสาหกรรมอวกาศโลก งานใหญ่แห่งปีของวงการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในระดับนานาชาติ ระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
CEO ไทยคม รับรางวัลผู้บริหารธุรกิจดาวเทียมดีเด่นแห่งเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2566 จากสมาคมสื่อสารผ่านดาวเทียมแห่งเอเชียแปซิฟิก เพื่อเชิดชูเกียรติในฐานะที่เป็นผู้บริหารที่ขับเคลื่อนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ
ไทยคม ประกาศเลือกแอร์บัส ผู้นำอุตสาหกรรมอากาศยานและอวกาศยักษ์ใหญ่ระดับโลก ให้จัดสร้างดาวเทียมดวงใหม่ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงแบบ Software Defined High Throughput Satellite หรือ SD-HTS ในตำแหน่งวงโคจร 119.5 องศาตะวันออก
ไทยคมรายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2566 มีผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่สำหรับไตรมาส 2/2566 จำนวน 457 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 409.8% จากไตรมาส 1/2566 (QoQ)
ไทยคมประกาศการลงนามข้อตกลงระหว่าง บริษัท สเปชเทค อินโนเวชั่น จำกัด หรือ STI และ Eutelsat Asia PTE. LTD. โดยไทยคมจะเป็นผู้ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมบรอดแบนด์ดวงใหม่ที่วงโคจรตำแหน่ง 119.5 องศาตะวันออก แก่ Eutelsat Asia จำนวน 50% ของช่องสัญญาณทั้งหมด เป็นระยะเวลา 16 ปี ตามอายุทางวิศวกรรมของดาวเทียม