ไทยคม เปิดตัว “สถานีดาวเทียม LEO (Low Earth Orbit) Satellite Constellation”
แห่งแรกในประเทศไทย ร่วมกับโกลบอลสตาร์
กรุงเทพ, 21 ธันวาคม 2566 – บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจดาวเทียมแห่งเอเชีย และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีอวกาศ เปิดตัว ‘สถานีดาวเทียม LEO ไทยคม–โกลบอลสตาร์’ ซึ่งเป็นสถานีภาคพื้นดินเพื่อให้บริการระบบดาวเทียม Low Earth Orbit (LEO) Satellite Constellation แห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ สถานีบริการภาคพื้นดินไทยคม อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยร่วมกับ บริษัท โกลบอลสตาร์ (Globalstar, Inc.) ผู้ให้บริการระดับโลกด้านการสื่อสารผ่านดาวเทียมและโซลูชัน IoT จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อขยายโครงข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียมของโกลบอลสตาร์ให้ครอบคลุมมากขึ้น และมุ่งเน้นการให้บริการเชิงพาณิชย์จากระบบดาวเทียม LEO ในประเทศไทยและในระดับภูมิภาค
สำหรับสถานีดาวเทียมแห่งนี้ ไทยคมมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ให้บริการที่เชื่อมโยงกับระบบดาวเทียม LEO ของโกลบอลสตาร์เพียงรายเดียวในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นไปที่โซลูชันการจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมถึงอุตสาหกรรมทางทะเลในระดับภูมิภาค และพร้อมที่จะพัฒนาและคิดค้นบริการและโซลูชันอื่นๆ ให้ครอบคลุมในอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย ดังนั้น การเปิดตัว ‘สถานีดาวเทียม LEO ไทยคม–โกลบอลสตาร์’ ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของไทยคมและโกลบอลสตาร์ ที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง ในการร่วมกันพัฒนาโซลูชันและบริการจากระบบดาวเทียม LEO เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศไทยและในระดับภูมิภาคที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศให้กับทั้งสองบริษัทได้อีกด้วย
นายปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ไทยคม กล่าวว่า “ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะประกาศความสำเร็จในการสร้างสถานีแห่งนี้เพื่อให้บริการ LEO Satellite Constellation แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ ณ สถานีดาวเทียมไทยคมของเรา ซึ่งความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในครั้งนี้ ได้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาวของไทยคมในการที่จะเป็นบริษัทเทคโนโลยีอวกาศชั้นนำ ดังนั้น เราจึงรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับโกลบอลสตาร์ในการสร้างสถานีดาวเทียม LEO แห่งนี้ขึ้น เพื่อให้บริการต่างๆ ในประเทศไทยและในระดับภูมิภาค อาทิ การให้บริการด้านความปลอดภัย การติดตามทรัพย์สิน และการบริการโซลูชันอุปกรณ์ IoT ซึ่งนับเป็นประโยชน์ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การท่องเที่ยว การเดินเรือ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการป้องกันประเทศ เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม:
แชร์ข่าวนี้: