THCOM 14 THB
0.00 (0.00%)

บล็อก

เพราะเหตุใดหลังจากสิบปีแล้ว ดาวเทียม HTS จึงยังคงมีความสำคัญอยู่และมากกว่าที่ผ่านมา?

เขียนโดย โดย ปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านการค้า บมจ.ไทยคม

วิวัฒนาการของดาวเทียม High Throughput Satellites (HTS) หรือดาวเทียมที่สามารถรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลสูง ได้เปลี่ยนวงการดาวเทียมไปอย่างมีนัยสำคัญ สิบปีที่ผ่านมาดาวเทียม HTS ได้พิสูจน์คุณค่าและแสดงให้เห็นแล้วว่ายังคงมีประสิทธิภาพในการใช้งานอยู่จนทุกวันนี้ แต่ยังมีข้อสงสัยว่า ระบบของดาวเทียมดังกล่าวไปสู่จุดที่สามารถใช้งานได้เต็มศักยภาพแล้วหรือไม่ หรือยังสามารถมีพัฒนาการต่อได้อีกในอนาคต

เมื่อดาวเทียมไอพีสตาร์ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีคำกล่าวที่พบเห็นได้บ่อยๆตามมา ซึ่งเป็นผลจากดาวเทียม HTS ดวงแรก เช่น ได้ปริมาณการรับส่งมากแต่ต้นทุนต่อบิทต่ำกว่า มีเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบเน้นจุดแคบและการนำความถี่กลับมาใช้ใหม่ มีประสิทธิภาพมาก ระยะเวลาคืนทุนยาวนาน และสามารถแข่งขันกับดาวเทียมทั่วไปได้แน่นอนว่าการกล่าวถึงดาวเทียม HTS ด้วยถ้อยคำดังกล่าวคงจะไม่ดูเกินจริงไป สำหรับนวัตกรรมซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถพลิกโฉมวงการดาวเทียม

ด้วยจุดเริ่มต้นจากระบบแรกเริ่มของ IPSTAR โดยบริษัทไทยคม ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านอย่างยิ่งใหญ่ในด้านศักยภาพตลอดจนภาพรวมของอุตสาหกรรมดาวเทียมไอพีสตาร์ถูกออกแบบมาเพื่อการสื่อสารแบบความเร็วสูงแบบสองทางบนแพลตฟอร์ม IP ไอพีสตาร์ให้บริการครอบคลุมทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ผ่านการส่งสัญญาณแบบตรงจุด โดยเน้นช่วงแคบที่เรียกว่า Spot Beam ไอพีสตาร์สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากความถี่ที่มีอยู่ในการส่งข้อมูล และสามารถเพิ่มแบนด์วิดได้ถึงยี่สิบเท่าเมื่อเทียบกับดาวเทียมระบบ Ku-band ที่มีใช้อยู่ทั่วไป ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการใช้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเทคโนโลยีใหม่ได้นำมาซึ่งความสามารถใหม่ พร้อมปฏิวัติข้อเสนอการบริการของผู้ให้บริการ

ตัวอย่างเช่น HTS ทำให้พื้นที่ที่ได้รับบริการไม่เพียงพอและไม่ได้รับบริการ สามารถรับสัญญาณบรอดแบนด์ความเร็วสูงได้เช่นเดียวกับพื้นที่เขตเมืองเมื่อผ่านมาถึงปี 2558 ดาวเทียม HTS ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางกับแอพลิเคชั่นบรอดแบนด์สำหรับผู้บริโภคทั่วไป พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดาวเทียมเข้าสู่ตลาดบริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือผ่านโครงข่าย Cellular Backhaul ซึ่งสามารถเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนได้จากปริมาณการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นของ 3G และ 4G ผ่านเทคโนโลยี Cellular ซึ่งต้องการปริมาณช่องทาง Backhual ของแบนด์วิธสูงเพื่อจัดระเบียบสัญญาณ เมื่อให้บริการผ่านโครงข่ายดังกล่าวในพื้นที่นอกชานเมืองและชนบท ระยะห่างระหว่างสถานีฐานทำให้เกิดข้อจำกัดด้านต้นทุนกับระบบภาคพื้นดิน จึงเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการเลือกใช้โครงข่ายผ่านดาวเทียมแทน

ในปัจจุบันเมื่อบริการ 4G ยังมีจำกัดเฉพาะในเมืองที่ซึ่งมีบริการไฟเบอร์พร้อมไว้บริการอยู่แล้ว จึงมีการคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าในอนาคต ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือก็ยังคงจะขยายบริการ 3G ไปในพื้นที่ที่ห่างไกลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้บริการผ่านดาวเทียม HTS เป็นบริการที่เหมาะสมอย่างยิ่งถึงแม้เวลาจะผ่านไปกว่าสิบปี แต่ดาวเทียม HTS ก็ยังคงเป็นตัวแทนของการให้บริการดาวเทียมรุ่นใหม่ในอนาคต ความต้องการใช้งานมีแต่จะเพิ่มขึ้น โดยผู้ให้บริการยังคงมองหาแนวทางในการให้บริการมากกว่าหนึ่งอย่างในเวลาเดียวกันแต่ได้ปริมาณการรับส่งข้อมูลสูง โดยจะมีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมารองรับรูปแบบการส่งข้อมูลดังกล่าวและดาวเทียม HTS เองด้วย

ไทยคมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่ของการสื่อสารผ่านดาวเทียม และจะยังคงมุ่งมั่นในการสนับสนุนสิ่งที่จะนำไปสู่อนาคตที่สดใสของดาวเทียม HTS ในอีก10 ปีข้างหน้าและต่อไปในอนาคต

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง